งานวิจัย: หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลฝุ่นแบบห้องเผาไหม้ช่วยสำหรับหม้อน้ำอุตสาหกรรม

งานวิจัย: หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลฝุ่นแบบห้องเผาไหม้ช่วยสำหรับหม้อน้ำอุตสาหกรรม

PULVERIZED BIOMASS BURNER WITH PRE-CHAMBER FOR BOILDER INDUSTRY

ดำเนินการโดย

 

รศ.ดร. จารุวัตร เจริญสุข

งานวิจัยหลักๆ ในห้องปฏิบัติการนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ส่วนการทดลอง (Experiment)  ซึ่งจะเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการเผาไหม้

2. ส่วนการจำลอง (Simulation) โดยใช้ซอฟท์แวร์การคำนวณที่อ้างอิงทฤษฎีทางพลศาสตร์การไหลและเคมีของการเผาไหม้และสมการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสังเกตพฤติกรรมเชิงลึกเกี่ยวกับการเผาไหม้และการไหล ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากการทดลอง

งานวิจัย: หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลฝุ่นแบบห้องเผาไหม้ช่วยสำหรับหม้อน้ำอุตสาหกรรม

PULVERIZED BIOMASS BURNER WITH PRE-CHAMBER FOR BOILDER INDUSTRY

วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบหัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมที่มีต้นกำลังมาจากการผลิตความร้อนด้วยการเผาไหม้ โดยมีเป้าหมายหลักในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล หรือแม้กระทั่งถ่านหิน ซึ่งเป็นพลังงานจำพวกที่ใช้แล้วหมดไป และหันมาใช้เชื้อเพลิงที่ได้จากกากชีวมวลทีไม่ใช้แล้วในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการแปรรูปทางเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น

ชุดทดสอบการเผาไหม้ประกอบด้วย

1. ระบบบดและป้อนเชื้อเพลิงชีวมวล 2. หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวลฝุ่นแบบห้องเผาไหม้ช่วย 3. ห้องเผาไหม้
4. ระบบบำบัดไอเสีย wet scrubber 5. ระบบป้อนอากาศ 6. พัดลมดูดอากาศ
7. บ่อตกตะกอนและระบบหมุนเวียนน้ำ

 

งานศึกษาพัฒนาหัวเผานี้จะมีทั้งส่วนการทดลองและส่วนการจำลอง โดยจะจำแนกชุดการทดลองออกเป็นส่วนๆ และสังเกตดูพฤติกรรมเฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆ สำหรับกลุ่มผู้ดำเนินการพัฒนาได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของ รศ.ดร. จารุวัตร เจริญสุข ได้รับการสนับสนุนการสร้างและพัฒนาโดยโครงการวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นอกจากชุดทดสอบนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสตร์การเผาไหม้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม ช่วยเตรียมความพร้อมของน้องๆ ก่อนจบการศึกษาเพื่อเป็นวิศวกรเครื่องกลได้อย่างเต็มตัวอีกด้วย

เช่นเดียวกันกับงานวิจัยอื่นๆ ในห้องปฏิบัติการ งานวิจัยนี้ดำเนินการพัฒนาโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของ รศ.ดร. จารุวัตร เจริญสุข ได้รับการสนับสนุนการสร้างและพัฒนาโดยโครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษก (คปก.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

15 Comments